วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ศาลหลักเมือง
จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดที่ 74 ของไทย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 จึงมีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวสระแก้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองและแผ่นดวงเมืองเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539
ที่ตั้ง ปริมณฑลสวนกาญจนาภิเษฏ ต.ท่าเกษม อ.เมืองสระแก้ว รถยนต์ จากสามแยกสระแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 ไปทางอ.วัฒนานครประมาณ 3 กิโลเมตร ศาลหลักเมืองอยูทางขวามือ
สิ่งที่น่าสนใจ อาคารศาลหลักเมืองตั้งอยู่ภายในปริมณฑลสวนกาญจนาภิเษก มีลักษณะเป็นปรางค์ห้าองค์ที่มีทางเดินเชื่อมถึงกัน โดยเสาหลักเมืองอยู่ในปรางค์องค์ตรงกลาง เสาหลักเมืองทำจากต้นชัยพฤกษ์ที่มีคุณลักษณ์ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี มีความสูง 3.5 เมตร ภายในติดแผ่นดวงเมืองสระแก้วไว้ด้วย
หลวงพ่อขาววัดนครธรรม
วัดนครธรรม นอกจากวิหารที่สวยงามแล้วน่าชมแล้ว วัดนครธรรมยังเป็นที่ประดิษฐ์านพระบรมสารีริกธาตุ และหลวงพ่อขาวพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้เคารพศรัทธากันมาก ช่วงตรุษจีน(ราวเดือน ม.ค.-ก.พ.) มีงานประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุและงานนมัสการหลวงพ่อขาวเป็นประจำทุกปี
ที่ตั้ง บ้านสระลพ ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร
การเดินทาง จากสี่แยกวัฒนานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข3395 ไปทางอ.คลองหาดประมาณ1กิโลเมตร
ถึงวัด
ประวัติ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่อวัดสระลพ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดนครธรรม เพื่อให้เป็นสิริมงคลนามพระครูวิวัฒน์นครธรรม อดีตเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2506
สิ่งที่น่าสนใจ
วิหารหลงพ่อขาว ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นด้านซ้ายสุดของทางเข้าวัด เป็นวิหารไม้ทรงไทยสวยงามไม่ยกพื้น หลังคาจั่ว มีเสาไม้กลมรองรับชายคารอบอาคาร ภายในปะรดิษฐานหลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 130.9 เซ็นติเมตร สูง 199 เซ็นติเมตร สร้างด้วยปูนขาว ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหลวงพ่อปูน มีการปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ด้วยศรัทธาของผู้คน ประวัติเกี่ยกวับหลวงพ่อข่าวมีว่า พ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวลาวกลุ่มหนึ่งอพยพจากเวียงจันทร์มาตั้งบ้านเรือนบริเวณบ้านจิกและร่วมกันสร้างวัดบ้านจิกขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว ต่อมาชาวลาวกลุ่มนี้ย้ายกลับเวียงจันทร์ วัดบ้านจิกจึงถูกทิ้งร้าง ชาวบ้านสระลพชาวลาวจากเวียงจันทร์อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งตั้งหมู่บ้านอยู่ใกล้กัน จึงอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาเป็นพระประธานในวิหารวัดนครธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2468 สมัยรัชกาลที่ 6
พระบรมสารีริกธาตุ ในประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุช่วงตรุษจีน จะมีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานบนบุษบกด้านหน้าหลวงพ่อขาวภายในวิหาร ให้ประชาชนได้สักการะเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ พระครูวัฒนานครกิจ อดีตเจ้าอาวาสได้อัญเชิญมาจากวัดเปมะดุลลราชะมหาวิหาร เมืองรัตนปุระ ประเทศ ศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. 2535
กาสรกสิวิทย์
โรงเรียนฝึกกระบือทำนา และให้ความรู้เกษตรกรที่ต้องการใช้กระบือทำการเกษตร ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปชมการไถนา ดำนา การทำปุ๋ยและแก๊สชีวภาพ นิทรรศการเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำนาซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ชมแปลงนาที่ปลูกข้าวในระยะเวลาต่างกัน ชมบ้านดิน ต้นแบบของที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ชิมกาแฟอร่อย อาหารเพื่อสุขภาพ ผักพื้นบ้าน และเลือกซื้อของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ภัทรพัฒน์ของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ร้านกาแฟควายคะนอง ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
โพธิวิชชาลัยสระแก้ว
สถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่ของไทยที่นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรัชญาแนวคิดอื่นๆ ผลิตคนเพื่อออกไปแก้ปัญหาวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม เน้นการเรียนการสอนที่เข้าถึงธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอย่างแท้จริง กิจกรรมที่น่าสนใจคือเดินชมฐานการเรียนรู้ป่าชื้นริมห้วย และฐานการเรียนรู้ต่างๆภายในวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ตลาดโรงเกลือ
ตลาดการค้าชายแดนขนาดใหญ่แห่งนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ นอกจากจะได้เห็นวิถีชีวิตของคนกัมพูชาบริเวณตะเข็บชายแดนแล้ว ยังสามารถจับจ่ายซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้ามือสอง รวมไปถึงปลาแห้งย่างจากกัมพูชา เิมบริเวณนี้เคยเป็นโกดังเก็บเกลือ ชาวบ้านจึงเรียกว่าตลาดโรงเกลือ ต่อมาปรับปรุงสร้างเป็นศูนย์การ้คาขนาดใหญ่ เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2534 บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว นักท่องเที่ยวบางคนวางแผนมาเที่ยวที่นี่ก่อนเดินทางไปเที่ยวนครวัดต่อโดยทางรถยนต์ ระยะทางไม่ไกลและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงนัก
ที่ตั้ง บ้านดงงู ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ
รถยนต์ จากตัวเมืองอรัญฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 ไปทางชายแดนประมาณ 5.5 กิโลเมตร พบสามแยกเข้าตลาดให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 200 เมตร ตลาดอยู่ทางขวามือ
สิ่งที่น่าสนใจ พื้นที่ตลาดทั้งหมดแบ่งออกเป็น 5 ตลาดได้แก่ ตลาดโรงเกลือเก่า ตลาดเดชไทย ตลาดเทศบาล2(ตลาดโรงเกลือใหม่) ตลาดเทศบาล3 (โกลเด้นเกต) และตลาดเบญจวรรณ แต่ละแห่งมีร้านค้านับร้อยร้าน สินค้าที่น่าสนใจมีหลากหลาย ที่มีชื่อคือเสื้อผ้ากระสอบ หรือเสื้อผ้าผู้หญิงมือสองคุณภาพดี ทั้งกางเกงยีนส์ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสิ้นกันหนาว รวมถึงรองเท้าหนัง ปัจจุบันสินค้ามือสองมีน้อยลง แต่มีสินค้าใหม่เลียนแบบยี่ห้อดังผลิตในกัมพูชาและเวียดนามมาวางจำหน่ายแทน ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือข้าวของเครื่องใช้ อย่างเครื่องจักรสานที่ทำจากไผ่และหวายพวกกระบุง ตะกร้า กระจาด จากกัมพูชา เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้วยชามกระเบื้อง ของเด็กเล่น จากจีน และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีน้ำปลาจืดจากทะเลสาบในกัมพูชา เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลาแดง ขายทั้งแบบปลาสดและแบบย่างรมควันจนแห้ง
เขื่อนพระปรง
เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออก เขื่อนนี้สร้างขวางกั้นลำน้ำหลายสาย ที่สำคัญคือห้วยพระปรงซึ่งไหลไปรวมกับลำน้ำสายอื่นเป็นแม่น้ำบางประกง
ที่ตั้ง อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติปางสีดา บ้านระเบาะหูกวางและบ้านห้วยชัน ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร
รถยนต์ จากอ.วัฒนานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข3198 ไปประมาณ 18.5 กิโลเมตร พบสามแยกบริเวณ โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 6 กิโลเมตร พบแยกท่าช้างให้ตรงไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงเขื่อน
ประวัติ พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่ อ.วัฒนานคร (ขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับ จ.ปราจีนบุรี) ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตรและการอุปโภคบริโภค จึงมีพระราชดำริให้สร้างเขื่อนพระปรงกั้นตั้นน้ำห้วยพระปรง การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2542 มีพื้นที่รองรับน้ำฝนทั้งหมด 264 ตารางกิโลเมตร
สิ่งที่น่าสนใจ นั่งเรือและแพชมทิวทัศน์ ทางเหนือเขื่อนแวดล้อมด้วยทิวเขาบรรทัด เขียวชอุ่มด้วยผืนป่าของอุทยานแห่งชาติปางสีดา ระหว่างเส้นทางเรือจะแล่นผ่านป่าต้นลานริมเขื่อนและทิวไม้ที่ยืนต้นตาย ไม่ไกลกันมีเกาะกลางเขื่อนซึ่งนักท่องเที่ยวนำเต้นท์ไปกางได้ บริเวณเขื่อนนี้เป็นแหล่งอาัศัํยของนกน้ำนานาชนิด โดยเฉพาะนกอ้ายงั่วนกหายากชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่านกงู มีอยู่ราว 100 ตัว ถ้าโชคดีอาจได้เห็นมันกำลังดำน้ำจับปลาหรือเกาะกิ่งไม้กางปีกอวดขนาดวงปีก ช่วงเดือน พฤษภาคม-กรกฏาคม มีการจัดเทศกาลดูนกน้ำ ตามเส้นทางนกงู ขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้อาหารเมนูปลาหลากหลายชนิดของที่นี่ขึ้นชื่อ จึงเป็นแหล่งพักผ่อนของนักท่องเที่ยวและคนในจังหวัดเป็นอย่างดี ตามสโลแกนที่ว่า "ล่องเรือ ตกปลา เดินป่า ที่เขื่อนพระปรง"
ละลุ
ละลุ เป็นภาษาเขมร แปลว่าทะลุ มีลักษณะคล้ายแพะเมืองผีในจังหวัดแพร่ เกิดจากการยุบตัวหรือพังทลายของดินที่อ่อนและหนาแน่นน้อยด้วยอิทธิพลของน้ำและลมที่กัดกร่อน ส่วนดินที่มีความหนาแน่นมากและแข็งตัวจะไม่ยุบตัว ปรากฏการณ์นี้เกิดเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเป็นดินปนทราย
ที่ตั้ง บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา รถยนต์จาก อ.อรัญประเทศ ใช้ทางหลวงหมายเลข 348 ไปทางอ.ตาพระยาประมาณ35.5กิโลเมตร แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 3486 ไปอีก 4.5 กิโลเมตร พบทางแยกเข้าละลุทางซ้ายให้เลี้ยวเข้าไป 18 กิโลเมตร ผ่านโรงเรียนบ้านหนองผักแว่นทางซ้ายไปจะพบสามแยก ให้เลี้ยวซ้ายไป 500 เมตร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอยู่ทางซ้ายมือ
สิ่งที่น่าสนใจ ละลุบ้านคลองยางมีเนื้อที่ทั้งหมด 2000ไร่ ผ่านการ กัดกร่อนของน้ำและลมจนกลายเป็นประติมากรรมธรรมชาติรูปทรงแปลกตา ชวนให้จินตนาการว่าคล้ายกำแพงเมือง คล้ายยอดปราสาท ยอดเจดีย์ หอคอย บ้่านเรือน หรือเห็ดยักษ์ เมื่อประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนแห้งแล้ง ดินเป็นดินทรายสีส้ม จึงเสมือนนักท่องเที่ยวกำลังท่องดินแดนมหัศจรรย์
สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น
สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด เป็นแหล่งผลิตน้ำนมใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2530 ปัจจุบันมีสมาชิก 1,000 กว่าราย มีระบบการจัดการที่ดี จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2540 ควบคุมขั้นตอนการผลิตอย่างมีคุณภาพ เลือกสรรวัตถุดิบคุณภาพสูง น้ำนมมีรสชาติหอม มัน อร่อย ด้านหน้าสหกรณ์มีจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมยูเอสที ระหว่างเวลา 09.00 - 17.00 น. ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-3725-1862-3,0-3751-7111-3
ที่ตั้ง เลขที่่ 669 หมู่ 1 ตำบลวังใหม ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคลองหาด รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 317 สาย สระแก้ว - จันทบุรี
สิ่งที่น่าสนใจ "นมจากเต้า" สดใหม่จากโคนมในพื้นที่ที่มีอยู่กว่า 3 หมื่นตัว ปริมาณน้ำนมดิบวันละเกือบ 200 ตัน สู่กระบวนการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพด้วยโรงงานอันทันสมัย ที่พร้อมเปิดให้ผู้สนใจเยี่ยมชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมหลากหลายประเภท ทั้ง นมยูเอชที รสหวาน รสจืด นมเปรี้ยวหลากหลายรสชาติ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เป็นนมโรงเรียนส่งจำหน่ายใน กทม. และหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ถ้ำทะลุเขาฉกรรจ์
เป็นภูเขาหินปูนรูปลักษณ์แปลกตา มีโพรงถ้ำที่น่าเที่ยวชมหลายแห่ง บางแห่งเป็นที่อาศัยของลิงวอกฝูงใหญ่ นอกจากนี้ในช่วงค่ำค้างคาวจะพากันบินออกจากถ้ำไปหากินเป็นภาพที่สวยงามน่าชม
ที่ตั้ง อยู่ภายในวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ บ้านเขาฉกรรจ์ ต.เข้าฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ ห่างจากตัวเมืองสระแก้วประมาณ 18 กิโลเมตร รถยนต์ จากสามแยกสระแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 317 ไปทาง อ.เขาฉกรรจ์ประมาณ 16 กิโลเมตร พบสวนรุกขชาติเขาฉกรรจ์ทางซ้ายมือ เลยไปเล็กน้อยพบทางแยก ให้เลี้ยวซ้ายประมาณ 250 เมตร ถึงเขาฉกรรจ์
สิ่งที่น่าสนใจ เขาฉกรรจ์เป็นเทือกเขาหินปูนสามลูกต่อเนื่องกันยอดกลางสูงสุด สูง 324 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเป็นหน้าผาสูงชันทำมุมเกือบตั้งฉากกับพื้นดิน พื้นผิวหน้าผาเป็นริ้วคล้ายม่าน ตามหลืบหินมีพรรณไม้นานาชนิดขึ้นแซม ปัจจุบันจัดเป็นสวนรุกขชาติ ผู้สัญจรผ่านไปมาบนทางหลวงสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล
ถ้ำทะล ตั้งอยู่บนส่วนยอดของเขาฉกรรจ์ เป็นถ้ำหนึ่งในจำนวน 72 ถ้ำของเขาฉกรรจ์ต้องเดินขึ้ยบันไดพญานาคไปหว่า 300 ขั้น ถ้ำมีลักษณะเป็นช่องโหว่กลางเขาทะลุไปอีกด้านหนึ่งหากมองจากด้านล่างขึ้นไปจะมองช่องทะลุได้อย่างชัดเจน ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูป พระพุทธบราทจำลอง และฤาษีสองตน ให้ผู้ศรัทธาได้เข้ามานมัสการ
ลิงวอก ช่วงเช้าและช่วงเย็นลิงวอกนับพันตัวที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขาฉกรรจ ์จะพากันลงมารอรับอาหารจากนักท่องเที่ยวที่บริเวณลานจอดรถการปีนป่ายลงมาตามหน้าผาสูงชันของบรรดาลิง เป็นความสามารถและพฤติกรรมที่น่าสนใจ ลิงบางตัวมีลูกน้อยตัวเล็กจิ๋วขนาดเท่าลูกแมวเกาะอกแม่ลงมาด้วย
ปราสาทสด๊กก๊อกธม
หรือปราสาทเมืองพร้าวสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่15-16 เป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออก มีลวดลายประดับสวยงาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิส(คือการรื้อปราสาทออกมาทีละชิ้นแล้วนำไปประกอบขึ้นใหม่ให้มั่นคง)
ที่ตั้ง บ้านหนองเสม็ด ต.โคกสูง อ.โคกสูง รถยนต์จากอ.อรัญประเทศ ใช้ทางหลวงหมายเลข 348 ไปทางอ.ตาพระยา ผ่านที่ว่าการ อ.โคกสูงไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร พบทางแยกขวาให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงสามแยกบริเวณบ้านหนองเสม็ดให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 2 กิโลเมตร พบทางเข้าปราสาททางขวาให้เลี้ยวเข้าไป 2.5 กิโลเมตร ถึงบริเวณที่ตั้งปราสาท
ประวัติ ค้นพบจารึกสองหลัก หลักแรกพบเมื่อพ.ศ. 2511 ระบุศักราช 1480 ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 (ศิลปะแบบเกาะแกร์)บันทึกเรื่องราวการถวายทาสชายหญิงดูแลรักษาศิวลึงค์ นักวิชาการให้ความสำคัญแก่จารึกหลักนี้ไม่เท่าหลักที่ 2 ซึ้งค้นพบก่อนหลักแรก คือพบเมื่อพ.ศ.2444 บริเวณทิศเหนือของปราสาทจารึกระบุศักราชตรงกับปี พ.ศ. 1595 บันทึกถึงการที่พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2พระราชทานที่ดินและผู้คนเพื่อสร้างปราสาทถวายแด่พราหมณ์สทาศิวะผู้เป็นอาจารย์ ทั้งยังบันทึกถึงการสืบสายตระกูลพราหมณ์สทาศิวะ ควบคู่ไปกับพระนามของกษัตรย์ย้อนหลังไป 250 ปี จนถึงต้นตระกูลคนแรกคือพราหมณ์ศิวไกวัลยะในปี พ.ศ.1345
สิ่งที่น่าสนใจ แผนผังปราสาท ปราสาทก่อด้วยหินทรายและศิลาแลงตามลักษณธศิลปะเขมรแบบคลัง-บาปวนในช่วงพุทธศวรรษที่ 15-16 ผังปราสาทด้านนอกเป็นกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแดง ยาวราว 127 เมตร มีทางเข้าหลักคือโคปุระหรือซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกสร้างด้วยหินทรายผ่านโคปุระเข้ามาจะพบคูน้ำรูปตัวยูล้อมปราสาท กว้างราว 20 เมตร ถัดเข้าไปเป็นระเบียงคดล้อมรอบตัวปราสาท ยาวราว 42.5 เมตร มีโคปุระอยู่กึ่งกลางกำแพงระเบียงคดทั้งสี่ด้านพื้นที่ตั้งตัวปราสาทมีปรางค์ประธานอยู่บรเวณกลาง ด้านหน้าปรางค์ประธานบริเวณมุมระเบียงคดเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยสองหลัง สันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บตำราคัมภีร์ปราสาทนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเช่นเดียวกับปราสาทขอมอื่นๆ ด้วยความเชื่อของขอมที่ว่า ทิศตะวันออกเป็นทิศแห่งพลังแสงสว่าง และสิริมงคล ส่วนทิศตะวันตกเป็นทิศแห่งความตาย นอกจากนี้ผังปราสาทยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องจักรวาลของศาสนาฮินดู โดยมีเ้ขาพระสุเมรุอยู่กึ่งกลางล้อมด้วยห่วงน้ำมหึมา เมือ่เราเดินเข้าโคปุระด้านทิศตะวันออกของกำแพงแก้ว ผ่านคูน้ำและระเบียงคดเข้าไป ก็เท่ากับเราได้เข้าสู่ใจกลางจักรวาล ปรางค์ประธานเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วยเสาเป็นปริมณฑลบ่งบอกว่าเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์สูงสุดภายในปรางค์ประธานเดิมเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์อันเป็นรูปเคารพแทนองค์ปพระศิวะ หนึ่งในเทพสูงสุดสามองค์ของฮินดู บ่งบอกว่าปราสาทแห่งนี้เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายซึ่งนับถือพระศิวะเป็นใหญ่ (ทว่าปัจจุบันเหลือแต่เพียงฐานโยนีเท่านั้น)
อุทยานแห่งชาติปางสีดา - ตาพระยา
อุทยานตาพระยา ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ด้านตะวันออก เขตจังหวัดสระแก้วและบุรีรัมย์ติดกับปางสีดา ด้วยความเป็นที่ราบโอบล้อมด้วยขุนเขาที่กั้นแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา จึงเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น กระทิง เก้ง กวาง หมี เสือ วัวแดง ช้างป่า และนกมากกว่า 300 ชนิด มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบดูนก ดูผีเสื้อ ศึกษาพรรณไม้ มีจุดชมวิว 2 จุด สถานที่ที่น่าสนใจได้แก่ เขายักษ์ ซึ่งเป็นก้อนหินทรายขนาดใหญ่กลางป่ามีภาพสลักเป็นรูปบุคคลคล้ายยักษ์ ป่าสลัดได เป็นพืชตระกูลตะบอลเพชรที่ขึ้นอยู่หนาแน่น
ที่ตั้ง บ้านคลองน้ำเขียว ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว
สิ่งที่น่าสนใจ ที่เที่ยวที่เข้าถึงได้สะดวก เรียงรายอยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 3462 (บางแห่งต้องเดินเข้าไปแต่ไม่ไกลนัก) มีดังนี้ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (เปิดเวลา 08.00-16.30 น.) อยู่ภายในอาคารที่ทำการ ห่างจากด่านตรวจราว 200 เมตร นักท่องเที่ยวที่สนใจเดินป่าไปยังน้ำตก เช่น น้ำตกแควมะค่า น้ำตกถ้ำค้างคาว ควรแวะติดต่อที่ศูนย์นี้ก่อน ภายในศูนย์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆภายในอุทยานฯ ด้วยภาพถ่ายและแบบจำลอง อีกทั้งมีโครงกระดูกของจระเข้น้ำจืดให้ชมด้วย
หลวงพ่อทองวัดสระแก้ว
หลวงพ่อทองวัดสระแก้ว
วัดสระแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์ พ.ศ. 2543 เลื่อนเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีแห่งแรกของจังหวัดสระแก้ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ตั้ง ถนนสุวรรณศร ต.สระแก้ว อ.เมืองสระแก้ว
ประวัติ เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดหรอง วัดศาลานอก หรือวัดหนองกอไผ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2453 ปลายรัชกาลที่ 5 ต่อมาปี พ.ศ. 2466 หลวงพ่อพรหมา จนฺทสโร ร่วมกับท่านขุนประกอบวิชาการ ปลัดกิ่งอำเภอสระแก้ว และชาวบ้าน ย้ายมาสร้างวัดในที่แห่งนี้ใหม่ โดยมีพระครูรัตนสราธิคุณ หรือหลวงพ่อทอง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง จนได้รับการแต่งตั้งเป็เนจ้าอาวาสรูปแรกเมื่อ พ.ศ. 2491
สิ่งที่น่าสนใจ วิหารหลวงพ่อทอง เป็นวิหารทรงไทย ที่ประดิษฐานพระรูปหล่อของหลวงพ่อทอง หรือพระครูรัตนสราธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระแก้วที่ชาวสระแก้วให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อทองมีคุณูปการทั้งในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและใช้วิชาแพทย์แผนโบราณรักษาโรคให้ชาวบ้าน
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 13 องศา 14 ลิปดา ถึง 14 องศา 11 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 101 องศา 51 ลิปดา 56 ลิปดาตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาทาง
ทิศตะวันออกยาวประมาณ 165 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ 236 กิโลเมตรพื้นที่ประมาณ 7,195.138 ตารางกิโลเมตร
ประวัติจังหวัดสระแก้ว
จังหวัดสระแก้ว มีที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว ซึ่งมีอยู่ 2 สระ ในสมัยธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ.2523 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกไปตีที่ประเทศเขมร (ราชอาณาจักรกัมพูชา) ได้แวะพักบริเวณสระแก้วทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอย จึงได้ขนานนามสระทั้งสองนี้ว่า " สระแก้ว สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สระแก้ว เดิมมีฐานะเป็นตำบล ซึ่งสมัยก่อนได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้าออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกอง ทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนถึง ปี พ.ศ.2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า " กิ่งอำเภอสระแก้ว " ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอกบินทร์ โดยใช้ชื่อสระน้ำ เป็นชื่อกิ่งอำเภอชื่อว่า " อำเภอสระแก้ว " ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี และต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสระแก้วขึ้น ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 เป็นผล ให้จังหวัดสระแก้วได้เปิดทำการในวันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)