วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ยินดีต้อนรับสู่ จังหวัดสระแก้ว


ศาลหลักเมือง





จังหวัดสระแก้วเป็นจังหวัดที่ 74 ของไทย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 จึงมีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวสระแก้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองและแผ่นดวงเมืองเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539
ที่ตั้ง        ปริมณฑลสวนกาญจนาภิเษฏ ต.ท่าเกษม อ.เมืองสระแก้ว   รถยนต์       จากสามแยกสระแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 ไปทางอ.วัฒนานครประมาณ 3 กิโลเมตร ศาลหลักเมืองอยูทางขวามือ
สิ่งที่น่าสนใจ        อาคารศาลหลักเมืองตั้งอยู่ภายในปริมณฑลสวนกาญจนาภิเษก มีลักษณะเป็นปรางค์ห้าองค์ที่มีทางเดินเชื่อมถึงกัน โดยเสาหลักเมืองอยู่ในปรางค์องค์ตรงกลาง เสาหลักเมืองทำจากต้นชัยพฤกษ์ที่มีคุณลักษณ์ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี มีความสูง 3.5 เมตร ภายในติดแผ่นดวงเมืองสระแก้วไว้ด้วย

หลวงพ่อขาววัดนครธรรม

วัดนครธรรม นอกจากวิหารที่สวยงามแล้วน่าชมแล้ว วัดนครธรรมยังเป็นที่ประดิษฐ์านพระบรมสารีริกธาตุ และหลวงพ่อขาวพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้เคารพศรัทธากันมาก ช่วงตรุษจีน(ราวเดือน ม.ค.-ก.พ.) มีงานประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุและงานนมัสการหลวงพ่อขาวเป็นประจำทุกปี
ที่ตั้ง        บ้านสระลพ ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร
การเดินทาง  จากสี่แยกวัฒนานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข3395 ไปทางอ.คลองหาดประมาณ1กิโลเมตร 
ถึงวัด
ประวัติ   สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่อวัดสระลพ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดนครธรรม เพื่อให้เป็นสิริมงคลนามพระครูวิวัฒน์นครธรรม อดีตเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2506
สิ่งที่น่าสนใจ       
วิหารหลงพ่อขาว ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นด้านซ้ายสุดของทางเข้าวัด เป็นวิหารไม้ทรงไทยสวยงามไม่ยกพื้น หลังคาจั่ว มีเสาไม้กลมรองรับชายคารอบอาคาร ภายในปะรดิษฐานหลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 130.9 เซ็นติเมตร สูง 199 เซ็นติเมตร สร้างด้วยปูนขาว ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหลวงพ่อปูน มีการปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ด้วยศรัทธาของผู้คน ประวัติเกี่ยกวับหลวงพ่อข่าวมีว่า พ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวลาวกลุ่มหนึ่งอพยพจากเวียงจันทร์มาตั้งบ้านเรือนบริเวณบ้านจิกและร่วมกันสร้างวัดบ้านจิกขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว ต่อมาชาวลาวกลุ่มนี้ย้ายกลับเวียงจันทร์ วัดบ้านจิกจึงถูกทิ้งร้าง ชาวบ้านสระลพชาวลาวจากเวียงจันทร์อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งตั้งหมู่บ้านอยู่ใกล้กัน จึงอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาเป็นพระประธานในวิหารวัดนครธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2468 สมัยรัชกาลที่ 6
พระบรมสารีริกธาตุ ในประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุช่วงตรุษจีน จะมีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานบนบุษบกด้านหน้าหลวงพ่อขาวภายในวิหาร ให้ประชาชนได้สักการะเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ พระครูวัฒนานครกิจ อดีตเจ้าอาวาสได้อัญเชิญมาจากวัดเปมะดุลลราชะมหาวิหาร เมืองรัตนปุระ ประเทศ ศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. 2535

กาสรกสิวิทย์


โรงเรียนฝึกกระบือทำนา และให้ความรู้เกษตรกรที่ต้องการใช้กระบือทำการเกษตร ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปชมการไถนา ดำนา การทำปุ๋ยและแก๊สชีวภาพ นิทรรศการเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำนาซึ่งทำขึ้นตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ชมแปลงนาที่ปลูกข้าวในระยะเวลาต่างกัน ชมบ้านดิน ต้นแบบของที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ชิมกาแฟอร่อย อาหารเพื่อสุขภาพ ผักพื้นบ้าน และเลือกซื้อของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ภัทรพัฒน์ของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ร้านกาแฟควายคะนอง ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี   โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ 

โพธิวิชชาลัยสระแก้ว

สถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่ของไทยที่นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรัชญาแนวคิดอื่นๆ ผลิตคนเพื่อออกไปแก้ปัญหาวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม เน้นการเรียนการสอนที่เข้าถึงธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอย่างแท้จริง กิจกรรมที่น่าสนใจคือเดินชมฐานการเรียนรู้ป่าชื้นริมห้วย และฐานการเรียนรู้ต่างๆภายในวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ตลาดโรงเกลือ
















ตลาดการค้าชายแดนขนาดใหญ่แห่งนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ นอกจากจะได้เห็นวิถีชีวิตของคนกัมพูชาบริเวณตะเข็บชายแดนแล้ว ยังสามารถจับจ่ายซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้ามือสอง รวมไปถึงปลาแห้งย่างจากกัมพูชา เิมบริเวณนี้เคยเป็นโกดังเก็บเกลือ ชาวบ้านจึงเรียกว่าตลาดโรงเกลือ ต่อมาปรับปรุงสร้างเป็นศูนย์การ้คาขนาดใหญ่ เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2534 บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว นักท่องเที่ยวบางคนวางแผนมาเที่ยวที่นี่ก่อนเดินทางไปเที่ยวนครวัดต่อโดยทางรถยนต์ ระยะทางไม่ไกลและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่สูงนัก
ที่ตั้ง        บ้านดงงู ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ
 รถยนต์ จากตัวเมืองอรัญฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 ไปทางชายแดนประมาณ 5.5 กิโลเมตร พบสามแยกเข้าตลาดให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 200 เมตร ตลาดอยู่ทางขวามือ
 สิ่งที่น่าสนใจ       พื้นที่ตลาดทั้งหมดแบ่งออกเป็น 5 ตลาดได้แก่ ตลาดโรงเกลือเก่า ตลาดเดชไทย ตลาดเทศบาล2(ตลาดโรงเกลือใหม่) ตลาดเทศบาล3 (โกลเด้นเกต) และตลาดเบญจวรรณ แต่ละแห่งมีร้านค้านับร้อยร้าน สินค้าที่น่าสนใจมีหลากหลาย ที่มีชื่อคือเสื้อผ้ากระสอบ หรือเสื้อผ้าผู้หญิงมือสองคุณภาพดี ทั้งกางเกงยีนส์ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสิ้นกันหนาว รวมถึงรองเท้าหนัง ปัจจุบันสินค้ามือสองมีน้อยลง แต่มีสินค้าใหม่เลียนแบบยี่ห้อดังผลิตในกัมพูชาและเวียดนามมาวางจำหน่ายแทน ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือข้าวของเครื่องใช้ อย่างเครื่องจักรสานที่ทำจากไผ่และหวายพวกกระบุง ตะกร้า กระจาด จากกัมพูชา เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้วยชามกระเบื้อง ของเด็กเล่น จากจีน และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีน้ำปลาจืดจากทะเลสาบในกัมพูชา เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลาแดง ขายทั้งแบบปลาสดและแบบย่างรมควันจนแห้ง

เขื่อนพระปรง















เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออก เขื่อนนี้สร้างขวางกั้นลำน้ำหลายสาย ที่สำคัญคือห้วยพระปรงซึ่งไหลไปรวมกับลำน้ำสายอื่นเป็นแม่น้ำบางประกง
ที่ตั้ง        อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติปางสีดา บ้านระเบาะหูกวางและบ้านห้วยชัน ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร
รถยนต์   จากอ.วัฒนานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข3198 ไปประมาณ 18.5 กิโลเมตร พบสามแยกบริเวณ โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 6 กิโลเมตร พบแยกท่าช้างให้ตรงไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงเขื่อน
ประวัติ   พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่ อ.วัฒนานคร (ขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับ จ.ปราจีนบุรี) ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตรและการอุปโภคบริโภค จึงมีพระราชดำริให้สร้างเขื่อนพระปรงกั้นตั้นน้ำห้วยพระปรง การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2542 มีพื้นที่รองรับน้ำฝนทั้งหมด 264 ตารางกิโลเมตร
สิ่งที่น่าสนใจ        นั่งเรือและแพชมทิวทัศน์ ทางเหนือเขื่อนแวดล้อมด้วยทิวเขาบรรทัด เขียวชอุ่มด้วยผืนป่าของอุทยานแห่งชาติปางสีดา ระหว่างเส้นทางเรือจะแล่นผ่านป่าต้นลานริมเขื่อนและทิวไม้ที่ยืนต้นตาย ไม่ไกลกันมีเกาะกลางเขื่อนซึ่งนักท่องเที่ยวนำเต้นท์ไปกางได้ บริเวณเขื่อนนี้เป็นแหล่งอาัศัํยของนกน้ำนานาชนิด โดยเฉพาะนกอ้ายงั่วนกหายากชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่านกงู มีอยู่ราว 100 ตัว ถ้าโชคดีอาจได้เห็นมันกำลังดำน้ำจับปลาหรือเกาะกิ่งไม้กางปีกอวดขนาดวงปีก ช่วงเดือน พฤษภาคม-กรกฏาคม มีการจัดเทศกาลดูนกน้ำ ตามเส้นทางนกงู ขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้อาหารเมนูปลาหลากหลายชนิดของที่นี่ขึ้นชื่อ จึงเป็นแหล่งพักผ่อนของนักท่องเที่ยวและคนในจังหวัดเป็นอย่างดี ตามสโลแกนที่ว่า "ล่องเรือ ตกปลา เดินป่า ที่เขื่อนพระปรง"